วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า

"สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์

บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"

มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=1

ลูคัส จูเนียร์ (Lucas, JR 1997) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภทที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการประมวลผลการจัดเก็บ และการถ่ายทอดสารสนเทศ ในรูปของ

อิเล็กทรอส์นิกส์

ซอร์โคซีย์ (Zorkoczy 1984) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การกระทำโดยอัตโนมัติเพื่อรวบรวม จัดเก็บประมวลผล จัดจำหน่าย และใช้สารสารเทศ โดยไม่จำกัดขอบเขตไว้ที่ฮาร์แวร์หรือซอฟต์แวร์ แต่เน้นความสำคัญไปที่มนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ผู้สร้าง ผู้ควบคุม และผู้แสวงหาผลประโยชน์จากเทคโนโลยี

สเปนเซอร์ (Spencer 1992) เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยี ที่เป็นการรวมกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสารด้วยความเร็ว เพื่อนำข้อมูลเสียงและภาพ มาประกอบกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

วศิณ ธูประยูร (2537: 59) เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่นๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้ เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ชาติที่สร้างขึ้นมา เพื่อรวบรวม ผลิต สื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่ และแสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ

http://pirun.ku.ac.th/~g5166307/work/mixhome/6Information%20Technology%20IT.doc

กิลล์แมน (Gillman 1984 : 2535) ที่ให้คำจำกัดความคล้าย ๆ กับลูคัส จูเนียร์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมถึง การจัดหา การจัดเก็บ การประมวลผล การค้นคืน และการแสดงผล ของสารสนเทศ โดยเครื่องมือทางอิเลคทรอนิกส์

http://web.yru.ac.th/~pimonpun/4000107/1-1.htm

วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม http://www.technicphotharam.com/IT/main/link1.htm เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียก ว่าสารสนเทศซึ่งมีความสำคัญมากใน สังคมปัจจุบัน และมีผลต่อสังคม ในอนาคต มากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึงเทคโนโลยีสาสนเทศ กันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆว่าไอที (IT) เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือมีการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน

สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น